การลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ

💫 💕 การลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ  💕 💫


💫 การลำเลียงน้ำในพืช 💫

        พืชจะดูดน้ำและแร่ธาตุที่บริเวณปลายรากและจะถูกลำเลียงไปโดยท่อลำเลียงน้ำ  ซึ่งพืชจะมีเนื้อเยื่อลำเลียงอยู่ กลุ่มคือ  ไซเลม ( Xylem )  เป็นเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ  และโฟลเอม ( Phloem )  เป็นเนื้อเยื่อลำเลียงอาหารที่พืชสร้างขึ้นโดยเนื้อเยื่อทั้งสองจะประกอบกันเป็นกลุ่มเนื้อเยื่อลำเลียงที่พบทั้งในราก  ลำต้น  กิ่ง  ใบอย่างต่อเนื่องกัน

💕 โครงสร้างของรากและกระบวนการในการลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ  

                1. ขนราก ( Root  Hair)  อยู่เหนือปลายรากเล็กน้อย  มีลักษณะเป็นขนเส้นเล็กเป็นฝอยจำนวนมากอยู่รอบปลายราก  เป็นโครงสร้างที่เปลี่ยนแปลงมากจากเซลล์ผิวนอกสุดของราก  โดยผนังเซลล์ของแต่ละเซลล์จะยืดยาวออกไป  การที่ขนรากมีจำนวนมากก็เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการสัมผัสน้ำและแร่ธาตุต่าง ๆในดินได้มากขึ้น  ช่วยให้การดูดน้ำและแร่ธาตุต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว


ภาพที่ 1 โครงสร้างของราก
ที่มาของภาพ  https://www.trueplookpanya.com


                2. กระบวนการดูดน้ำและแร่ธาตุ  พืชจะดูดน้ำและแร่ธาตุทางขนราก  โดยจะดูดน้ำด้วยวิธีการออสโมซีส ส่วนการดูดแร่ธาตุใช้วิธีการแพร่

💕 ทิศทางการเคลื่อนที่ของน้ำภายในรากเริ่มตั้งแต่ขนรากของเซลล์เอพิเดอร์มิส  ผ่านเข้าสู่ชั้นคอร์เทกซ์ซึ่งมีชั้นเอนโดเดอร์มิสเป็นชั้นในสุด ผ่านเพริไซเคิลและเข้าสู่ไซเลมตามลำดับการเคลื่อนที่ของน้ำเป็นไปในแนวรัศมีรอบส่วนของรากจากภายนอกเข้าสู่ภายใน น้ำเคลื่อนเข้าสู่รากได้ 3 แบบ คือ 

        1.แบบอโพพลาส (apoplasmic pathway) เป็นการเคลื่อนที่ของน้ำที่ผ่านช่องระหว่างผนังเซลล์ในชั้นคอร์เทกซ์และผ่านเซลล์ที่ไม่มีชีวิต (ยกเว้นเอนโดเดอร์มิส) คือเทรคีด และเวสเซล ระบบอะโพพลาสต์ จะแบ่งออกเป็น ส่วนคือ ส่วนที่อยู่ในคอร์เทกซ์และในไซเล็มโดยมีชั้นเอนโดเดอร์มิสของคอร์เทกซ์เป็นตัวกั้น

ภาพที่ 2 การลำเลียงน้ำวิถีอโพพลาส
 ที่มาของภาพ https://sites.google.com



        2.แบบซิมพลาส(symplasmic pathway) เป็นระบบที่ผ่านไซโทพลาซึมของเซลล์โดยไซโทพลาซึมของเซลล์แต่ละเซลล์จะเชื่อมต่อกันด้วยท่อเล็ก ๆ เรียกว่าพลาสโมเดส น้ำเมื่อผ่านเยื่อหุ้มเซลล์แล้วผ่านจากไซโทพลาซึมไปยังคอร์เทกซ์ น้ำส่วนใหญ่ผ่านไปตามผนังเซลล์เมื่อถึงเอนโดเดอร์มิสไม่สามารถผ่านไปได้เนื่องจาก มีสารซูเบอร์รินเคลือบอยู่เรียกว่าแคสพาเรียนสติพ โมเลกุลของน้ำจึงต้องผ่าน
ไซโทพลาซึมแล้วจึงเข้าสู่เพริไซเคิลและไซเล็มต่อไป


ภาพที่ 3 การลำเลียงน้ำวิถีซิมพลาส
ที่มาของภาพ https://sites.google.com

        3.แบบทรานส์เมมเบรน(transmembrane pathway) เป็นการลำเลียงน้ำจากเซลล์หนึ่งโดยผ่านเยื่อหุ้มเซลล์

💕 การลำเลียงน้ำอาศัยปัจจัย ที่ทำให้เกิดแรงดันและแรงดึง

1.แรงดันราก (Root pressure) เมื่อเราตัดต้นพืชบางชนิดที่ปลูกในที่มีน้ำชุ่มให้ติดโคนต้นจะพบว่ามีน้ำใสๆไหลซึมออกมาตรงบริเวณที่ตัด ซึ่งเกิดจากความเข้มข้นของน้ำในดินกับน้ำในท่อไซเล็ม โดยน้ำในท่อไซเล็มมีความเข้มข้นสูงกว่าน้ำในดินเพราะมีพวกแร่ธาตุและสารต่างๆอยู่มากจึงเกิดกระบวนการออสโมซิสของน้ำในดินสู่รากได้เรื่อยๆจึงเกิดแรงดันในท่อ

       ไซเล็มจึงดันให้น้ำเข้าไปในท่อไซเล็มได้

2. แรงแคพิลลารี (Capillary force) เมื่อเราเอาหลอดแก้วเล็กๆ หลายๆหลอดที่มีขนาดของรูต่างๆกันจุ่มลงในอ่างน้ำ การที่น้ำผ่านขึ้นไปในหลอดแก้วได้เพราะแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของน้ำกับผนังด้านข้างของหลอดแก้วนั้น เรียกว่า แรงแอดฮีชัน (Adhesion) นอกจากนี้น้ำยังมีแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของน้ำด้วยกันเอง เรียกว่า แรงโคฮีชัน (Cohesion) ทำให้น้ำขึ้นไปได้สูงและต่อเนื่องกันตลอด

3. แรงดึงจากการคายน้ำหรือทรานสพิเรชันพูล (Transpiration pull) หมายถึง แรงดึงที่เกิดขึ้นจากการคายน้ำของพืช ใบจะคายน้ำออกไปเรื่อยๆทำให้เซลล์ของใบขาดน้ำไป จึงเกิดแรงดึงน้ำทำให้น้ำเคลื่อนที่ต่อเนื่อง คือแรงโคฮีชัน ซึ่งยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของน้ำด้วยกันเอง และแรงแอดฮีชัน ซึ่งยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของน้ำกับผนังเซลล์ของไซเล็ม



💫 💕 เนื้อเยื่อลำเลียงน้ำ แร่ธาตุ และอาหาร 💕 💫



ภาพที่ 4 รากของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่
ที่มาของภาพ
 https://www.trueplookpanya.com


ภาพที่ 5 ลำต้นของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่
ที่มาของภาพ https://www.trueplookpanya.com




ภาพที่ 6 โครงสร้างภายในของใบ
  ที่มาของภาพ https://sites.google.com



ที่มาวิดีโอ https://youtu.be/32lM1UIjQ00


💫 ขอบคุณที่มา 💫 การลำเลียงน้ำและอาหารของพืช

                           การลำเลียงน้ำและแร่ธาตุของพืช

                      


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น