💫 💕 การลำเลียงอาหาร 💕 💫
ภาพที่ 1 การลำเลียงอาหารของพืช
ที่มาของภาพ https://sites.google.com
การทำงานของระบบการลำเลียงสารของพืช
💫 💗 ลำเลียงอาหาร (น้ำตาลกลูโคส) ผ่านทางท่อลำเลียงอาหาร (phloem) โดยลำเลียงจากใบไปสู่ส่วนต่างๆ ของพืช ระบบลำเลียงของพืชเริ่มต้นที่ราก บริเวณขนราก (root hair) โดยขนรากจะดูดซึมน้ำโดยวิธีการที่เรียกว่า การออสโมซิส (osmosis) และวิธีการแพร่แบบอื่นๆ เมื่อน้ำและแร่ธาตุต่างๆ เคลื่อนที่ไปตามท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุและลำเลียงไปจนถึงใบ ใบก็จะนำน้ำและแร่ธาตุนี้ไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เมื่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงดำเนินไปเรื่อยๆ จนได้ผลิตภัณฑ์เป็นน้ำตาล น้ำตาลจะถูกลำเลียงผ่านทางท่อลำเลียงอาหาร (phloem) ไปตามส่วนต่างๆ เพื่อเป็นอาหารของพืช และลำเลียงน้ำตาลบางส่วนไปเก็บสะสมไว้ที่ใบ ราก และลำต้น
ภาพที่ 2 การลำเลียงสารของพืช |
👉 เมื่อพืชสังเคราะห์ด้วยแสงจะได้น้ำตาลกลูโคส น้ำตาลกลูโคสจะถูกลำเลียงไปตาม กิ่ง ก้านและลำต้นผ่านทางกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่เป็น ท่อลำเลียงอาหารหรือโฟลเอ็ม ( Phloem ) จากใบไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของพืช ที่กำลังมีการเจริญเติบโตและนำไปเก็บสะสมไว้ที่ราก ลำต้น โดยวิธีการแพร่
💫 การแพร่ คือการกระจายอนุภาคของสารจากที่มีความเข้มข้นของอนุภาคของสารมากไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นของอนุภาคของสารน้อย
💫 การแพร่แบบออสโมซิส คือ การแพร่ของน้ำหรือของสารผ่านเยื่อกั้นบาง ๆ
💫 ปัจจัยที่มีผลต่อการแพร่แบบออสโมซิส 💫
1. ความเข้มข้นของอนุภาค หมายถึง บริเวณที่จะเกิดออสโมซีสได้ต้องมีความเข้มข้นของอนุภาคต่างกันนั่นคือ บริเวณหนึ่งมีความเข้มข้นมากอีกบริเวณหนึ่งมีความเข้มข้นน้อย
2. สมบัติของเยื่อกั้น หมายถึง เยื่อกั้นต้องมีลักษณะบาง ๆ และต้องมีรูเล็ก ๆ และรูเล็ก ๆ นี้ต้องยอมให้สารที่ขนาดอนุภาคเล็กกว่ารูผ่านไปได้
3. ขนาดของอนุภาคของสาร หมายถึง สารต้องมีขนาดเล็กกว่ารูของเยื่อกั้นเสมอ จึงจะแพร่ผ่านไปได้
ภาพที่ 3 การแพร่แบบออสโมซิส |
💫 โฟลเอ็มที่ทำหน้าที่ลำเลียงอาหาร มีคุณลักษณะต่างกับเนื้อเยื่อไซเลมดังนี้ 💫
1. อัตราการลำเลียง อัตราการลำเลียงในโฟลเอมสามารถเกิดได้ช้ากว่าอัตราการลำเลียงน้ำและแร่ธาตุในไซเลมมาก
2. ทิศทางการลำเลียง ทิศทางการลำเลียงในโฟลเอมสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในแนวขึ้นและแนวลงในเวลาเดียวกัน ซึ่งต่างกับการลำเลียงในไซเลมซึ่งจะเกิดในแนวขึ้นเพียงทิศทางเดียว
3. เซลล์ต้องมีชีวิต เซลล์ที่ทำหน้าที่ลำเลียงอาหารจะต้องเป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ การลำเลียงจึงจะ เกิดขึ้นได้ ส่วนเซลล์ที่ใช้ในการลำเลียงน้ำและแร่ธาตุมักจะเป็นเซลล์ที่ไม่มีชีวิต
ภาพที่ 4 การลำเลียงอาหารของไซเลมและโฟลเอ็ม |
💫 การลำเลียงอาหารของพืชในโฟลเอ็ม 💫 การลำเลียงอาหารเกิดโดยขบวนการต่าง ๆ คือ
1. การแพร่ (Difusion) เป็นการลำเลียงอาหารจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งโดยเคลื่อนที่ไปตามความเข้มข้นของสารจากบริเวณที่มีอาหารเข้มข้นมากกว่า ไปยังบริเวณที่มีอาหารเข้มข้นน้อยกว่า ซึ่งเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ
2. การไหลเวียนของโพรโทพลาซึม (Protoplasm streaming) การเคลื่อนที่ของสารละลายภายใน ซีฟทิวบ์ ของโฟลเอ็ม เกิดจากการไหลเวียนของโพรโทพลาซึมหรือที่เรียกว่า ไซโคลซิส (Cyclosis) อาหารภายในโพรโทพลาซึมของ ซีฟทิวบ์ เคลื่อนตัวออกจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งโดยผ่านพลาสโมเดสมาตา (Plasmodesmata) ซึ่งเชื่อมโยงกันกับ ซีฟเพลต (Sieve plate) ซึ่งเป็นบริเวณที่ติดต่อกันระหว่าง ซีฟทิวบ์ แต่ละเซลล์การเคลื่อนที่โดยการไหลเวียนของอาหารใน โพรโทพลาซึม ของ ซีฟทิวบ์เกิดขึ้นในเซลล์ที่มีชีวิตเท่านั้นและการลำเลียงเชื่อมต่อกันได้ เนื่องจากเซลล์ของ ซีฟทิวบ์เชื่อมต่อกันตลอดความยาวของลำต้นสารอาหารเหล่านี้จึงเคลื่อนที่ติดต่อกันได้ตลอดและยังพบอีกว่าถ้าหากลดการเคลื่อนที่ของโพรโทพลาซึม ของซีฟทิวบ์ลง อัตราการลำเลียงอาหารจะลดลงด้วย
3. การไหลของอาหารเนื่องจากแรงดัน ( Pressure flow) การไหลของอาหารมีกลไกสำคัญ คือ- 💝 เซลล์ในชั้น เมโซฟิลล์ (Mesophyll) ของใบสังเคราะห์ด้วยแสงได้น้ำตาลกลูโคสมากขึ้นน้ำตาลกลูโคสเคลื่อนที่จากเซลล์ เมโซฟิลล์ เข้าสู่เซลล์ห่อหุ้มกลุ่มท่อลำเลียง (Bundle sheath cell)
- 💝 การสะสมน้ำตาลซูโครสในเซลล์ห่อหุ้มกลุ่มท่อลำเลียง เปลี่ยนเป็นน้ำตาลซูโครส ทำให้มีการสะสมน้ำตาลซูโครสมากขึ้นเกิดการขนส่งซูโครสแบบแอกทิฟทรานสปอร์ต จากเซลล์ห่อหุ้มกลุ่มท่อลำเลียงเข้าสู่โพรโทพลาซึมของซีฟทิวบ์ซึ่งต้องมีการใช้พลังงานจาก ATP จำนวนมาก
- 💝 การสะสมน้ำตาลซูโครส ในซีฟทิวบ์ทำให้น้ำจากเซลล์ข้างเคียง เช่นเซลล์เมโซฟิลล์ และเซลล์ห่อหุ้มกลุ่มท่อลำเลียงแพร่เข้าสู่ ซีฟทิวบ์ ทำให้ ซีฟทิวบ์มีแรงดันเพิ่มขึ้นจะดันสารละลายให้เคลื่อนผ่าน ซีฟทิวบ์ที่เรียงติดกันจากแผ่นใบเข้าสู่ก้านใบ กิ่ง และลำต้นของพืชตามลำดับ
- 💝 อาหารจะเคลื่อนตัวจากใบไปยังส่วนต่าง ๆ เพื่อใช้หรือสะสม เช่นที่ราก ดังนั้นใบจึงมีความเข้มข้นของสารอาหารสูงกว่าบริเวณราก และที่เซลล์รากจะมีการเปลี่ยนน้ำตาลเป็นแป้งซึ่งไม่ละลายน้ำ
ที่มาวิดีโอ https://www.youtube.com
💕 ขอบคุณที่มา 💕 การลำเลียงน้ำและอาหารของพืช , การลำเลียงสารอาหาร , การลำเลียงในพืช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น